
คนไทยส่วนใหญ่ในประเทศรับประทาน ข้าว เป็นอาหารหลัก และสินทรัพย์ที่มีค่าอย่างยิ่ง และเกษตรกรเปรียบเป็นดั่ง กระดูกสันหลังของประเทศ และการส่งออกข้าวไทยติดอันดับระดับโลกมาโดยตลอด ร้านพอพาณิช จำหน่ายข้าวสาร หอมกระเทียม ปลีก – ส่ง บริการส่งถึงหน้าบ้านท่าน ในพื้นที่ อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์
การจำแนกข้าวตามสภาพพื้นที่เพาะปลูก และฤดูกาลปลูกชนิดของ ข้าว ตามสภาพพื้นที่เพาะปลูกนั้น จำแนกได้เป็น 3 ประเภท
- ข้าวไร่
เป็นข้าวที่ปลูกได้ทั้งบนที่ราบ และที่ลาดชัน นิยมปลูกกันมากในบริเวณที่ราบสูง โดยไม่ต้องใช้น้ำมากตามไหล่เขาทางภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ เนื้อที่เพาะปลูกทั้งประเทศไม่มากนัก แค่ร้อยละ 10 ของพื้นที่ปลูกทั่วประเทศเท่านั้น ภาษาอังกฤษเรียกว่า upland rice ก็เพราะปลูกในที่ราบสูงของพื้นที่นั้นๆ
- ข้าวนาสวน หรือนาดำ
สามารถปลูกในที่ลุ่มทั่วไปในสภาพที่มีน้ำหล่อเลี้ยงต้นข้าว ตั้งแต่ปลูกจนกระทั่งก่อนเก็บเกี่ยว ข้าวนาสวนนิยมปลูกกันมากแทบทุกภาคของประเทศ เนื้อที่เพาะปลูกอยู่ที่ประมาณร้อยละ 80 ของเนื้อที่เพาะปลูกทั่วประเทศ และที่ใช้คำว่า lowland rice ก็เพราะปลูกในที่ลุ่ม
- ข้าวขึ้นน้ำ หรือข้าวนาเมือง
เป็นข้าวที่ปลูกในแหล่งที่ไม่สามารถรักษาระดับน้ำได้ จึงต้องใช้ข้าวพันธุ์พิเศษที่เรียกว่า ข้าวลอย หรือข้าวฟ่างลอย ส่วนมากปลูกแถบจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี ลพบุรี พิจิตร อ่างทอง ชัยนาทและสิงห์บุรี มีเนื้อที่เพาะปลูกไม่มาก ประมาณร้อยละ 10 ของเนื้อที่เพาะปลูกทั้งประเทศ คำว่า float แปลได้หลายอย่าง แต่ความหมายหลักคือ ลอย หรือล่องลอย เลยเป็นความหมายของการปลูกข้าวประเภทนี้
และส่วนที่แบ่งตามฤดูปลูก 2 ฤดู
- ข้าวนาปี หรือข้าวนาน้ำฝน
ข้าวที่ปลูกในฤดูการทำนาปกติ in-season rice เริ่มปลูกตั้งแต่เดือน พฤษภาคม ถึง ตุลาคม และเก็บเกี่ยวสิ้นสุดไม่เกิน เดือนกุมภาพันธ์ - ข้าวนาปรัง
ข้าวที่ปลูกนอกฤดูการทำนาปกติ off-season rice เริ่มปลูกตั้งแต่เดือน มกราคม นิยมปลูกในพื้นที่ ที่มีการชลประทานดี เช่น ในภาคกลาง เป็นต้น
6 สายพันธุ์ข้าวออร์แกนิคของไทย ที่อยากแนะนำให้รู้จัก
บ้านเรามีข้าวสายพันธุ์ต่างๆ ที่ปลูกแบบ Organic ตามธรรมชาติออกมากัน และเป็นที่นิยมกันมากมาย แต่สิ่งที่เป็นหัวใจสำคัญเลยของโลก Eco ก็คือเรื่องของอาหารและสุขภาพการกิน วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องของ “ข้าว” กัน ในฐานะบ้านเราที่เป็นเมืองส่งออกด้านข้าวเป็นอันดับต้นๆของโลก จะให้คนอื่นมารู้จักข้าวของคนไทยมากกว่าเราได้ยังไงกัน เรามาดูกันว่าข้าวประเภทต่างๆที่มีวางขายอยู่ในเวลานี้ มีชนิดแบบใดกันบ้าง
ข้าวหอมมะลิ
ข้าวหอมมะลิผู้สร้างชื่อให้กับคนไทยโด่งดังไปทั่วโลก ตั้งแต่ยุคสมัยไหนๆแล้ว นอกจากคุณประโยชน์ที่เต็มเปี่ยมแล้ว คุณลักษณะอันโดดเด่นเลยของข้าวหอมมะลิ ที่ตอนนี้ในบ้านเราก็คงต้องหนีไม่พ้นสายพันธุ์หอมมะลิ 105 คือมีความนุ่มละมุนลิ้น เมล็ดสีขาวนวล ที่สำคัญคือ ข้าวหอมมะลิของประเทศไทยเรา มีอัตราส่วนของดินที่พอเหมาะ จนทำให้เกิดเป็นข้าวที่มีมวลในตัวเบา ช่วยทำให้เม็ดข้าวหอมมะลิอุ้มน้ำได้ดี เวลาทานข้าวกับน้ำแกงอะไรก็หอมอร่อย ไม่ว่าไปเที่ยวที่ไหน สิ่งที่ทำให้คิดถึงบ้านที่สุดก็คงเป็นข้าวหอมมะลินี่ล่ะ
ขั้นตอนการหุง
1. นำเมล็ดข้าวทำการซาวน้ำเป็นจำนวน 3-4 ครั้ง
2. หุงข้าวด้วยปริมาณ น้ำ 1.5 ถ้วย ต่อ ข้าว 1 ถ้วย
3. ใช้ความร้อนหุงข้าวจนกว่าข้าวจะสุกได้ที่
4. ข้าวหุงสวยก็พร้อมรับประทาน
ข้าวกล้องแดง
เหมาะสำหรับคนที่ยังละจากรสชาติของข้าวหอมมะลิไปไม่ได้ แต่ก็อยากเริ่มลองทานข้าวสายพันธุ์อื่นๆดู เราขอแนะนำให้เริ่มกับข้าวกล้องหอมมะลิแดง ถุงนี้ก่อนเลยละกัน ด้วยรสชาติของความเป็นข้าวหอมที่ไม่ได้ขัดสี ยังคงมีความนุ่มละมุนอยู่ แต่มาพร้อมคุณประโยชน์ ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระมากกว่าข้าวธรรมดาไปถึง 31 เท่า! รวมถึงมีค่าดัชนีน้ำตาลในข้าวต่ำ เป็นข้าวที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยหรือผู้ที่มีอาการน้ำตาลในเลือดสูง จุดตรงกลางระหว่างรักสุชภาพ และ ความอร่อย ก็คงต้องเป็นข้าวกล้องหอมมะลิแดงนี่ล่ะ
ขั้นตอนการหุง
1. นำเมล็ดข้าวสารมาแช่ในน้ำเป็นเวลา 10 นาที
2. จากนั้นทำการซาวน้ำเป็นจำนวน 3-4 ครั้ง
3. หุงข้าวด้วยปริมาณ น้ำ 1.5 ถ้วย ต่อ ข้าว 1 ถ้วย
4. ใช้ความร้อนหุงข้าวจนกว่าข้าวจะสุกได้ที่
5. ข้าวหุงสวยก็พร้อมรับประทาน
ข้าวกล้องหอม
ชนิดเมล็ดข้าวที่หลังๆช่วง 10-20 ปีมานี้ ได้รับความนิยมกันในทุกครัวเรือน และร้านข้าวแกง จนเผลอๆอาจจะกลายเป็นข้าวที่ทุกคนคุ้นเคยแทนที่ข้าวหอมมะลิไปแล้วก็ได้ ข้าวกล้องเม็ดสีเหลืองอ่อน ที่มีผิวสัมผัสเหนียวนุ่มขึ้นมากว่าข้าวหอมมะลิปกติ มาพร้อมคุณประโยชน์มากมายเช่นกัน อุดมไปด้วยวิตามินหลากหลายชนิด แต่สิ่งที่เห็นได้ชัดก็คือ สรรพคุณเรื่องการแก้โรคเหน็บชา และเส้นประสาทเสื่อม ข้าวกล้องจึงเหมาะเป็นอาหารที่ผู้สูงอายุควรรับประทาน ช่วยบำรุงสมอง อย่าว่าอย่างงั้นอย่างงี้เลย เด็กหรือคนวัยรุ่นหนุ่มสาวเองก็ควรทานข้าวกล้องเช่นกัน
ขั้นตอนการหุง
1. นำเมล็ดข้าวสารมาแช่ในน้ำเป็นเวลา 10 นาที
2. จากนั้นทำการซาวน้ำเป็นจำนวน 3-4 ครั้ง
3. หุงข้าวด้วยปริมาณ น้ำ 1.5 ถ้วย ต่อ ข้าว 1 ถ้วย
4. ใช้ความร้อนหุงข้าวจนกว่าข้าวจะสุกได้ที่
5. ข้าวหุงสวยก็พร้อมรับประทาน
ข้าวหอมนิล
เป็นสายพันธุ์ที่ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นข้าวที่มีเมล็ดเปลือกหนาที่สุด มาพร้อมกับสีม่วงดำสนิท เมล็ดข้าวที่เรียวยาวเกือบจะมองออกเป็นข้าวเหนียวดำ รสสัมผัสที่เหนียวกว่าข้าวกล้อง ต้องใช้เวลาในการแช่น้ำและหุงนานกว่าข้าวอื่นๆ เพื่อให้ข้าวอ่อนตัว ได้เนื้อที่นุ่มพอดี คุณสมบัติที่สำคัญคือมีมีสาร Anthocyanin อัดแน่นอยู่ในเนื้อข้าว ที่ทำหน้าที่ช่วยในการลดอาการผมขาวก่อนวัย แต่เนื่องจากทุกวันนี้ชื่อของข้าวหอมนิล เริ่มหายากขึ้นทุกวัน เนื่องจากหาเกษตรกรที่ปลูกยาก ส่วนใหญ่ที่พบเจอก็จะเป็นพันธุ์ผสม ถ้าได้ลองทานข้าวหอมนิลแท้ๆ แล้วหุงดีๆ บางคนก็บอกเลยว่าเป็นข้าวที่มีรสชาติโดดเด่นที่สุดชนิดหนึ่ง
ขั้นตอนการหุง
1. นำเมล็ดข้าวสารมาแช่ในน้ำเป็นเวลา 15 นาที
2. จากนั้นทำการซาวน้ำเป็นจำนวน 3-4 ครั้ง
3. หุงข้าวด้วยปริมาณ น้ำ 1.5 ถ้วย ต่อ ข้าว 1 ถ้วย
4. ใช้ความร้อนหุงข้าวจนกว่าข้าวจะสุกได้ที่
5. ข้าวหุงสวยก็พร้อมรับประทาน
ข้าวไรซ์เบอร์รี่
ข้าวที่เรามักจะได้ยินชื่อกันบ่อยๆในวงการอาหารคลีน ด้วยสรรพคุณต่างๆนาๆมากมาย ข้าวไรซ์เบอร์รี่ เป็นข้าวที่เกิดจากสายพันธุ์ผสม ระหว่าง ข้าวหอมมะลิ 105 ตัวแทนฝั่งข้าวขาวนวล และ ข้าวหอมนิลตัวแทนของข้าวสีดำเปลือกหนา ออกมาเป็นเม็ดข้าวสีดำ-แดง ที่เวลาหุงเสร็จใหม่จะมีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ และรสชาติเหนียวนุ่มกำลังดี คุณสมบัติของข้าวไรซ์เบอร์รี่คือ เป็นข้าวที่มีสารอาหารและแร่ธาตุสูงที่สุดแล้วในบรรดาข้าวบนท้องตลอดเวลานี้ ที่สำคัญคือ มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำกว่าข้าวตัวอื่น เหมาะสำหรับผู้ที่กำลังเป็นเบาหวาน และผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก กินแล้วอิ่มง่าย เป็นมิตรต่อการขับถ่าย ไม่แปลกใจเลยว่าทำไมชาวฟิตเนสถึงได้ตามหาข้าวประเภทนี้กัน เพราะคุณประโยชน์เหล่านี้นี่ล่ะ นี่คือข้าวที่เพื่อสุขภาพที่สุด
ขั้นตอนการหุง
1. นำเมล็ดข้าวสารมาแช่ในน้ำเป็นเวลา 15 นาที
2. จากนั้นทำการซาวน้ำเป็นจำนวน 3-4 ครั้ง
3. หุงข้าวด้วยปริมาณ น้ำ 1.5 ถ้วย ต่อ ข้าว 1 ถ้วย
4. ใช้ความร้อนหุงข้าวจนกว่าข้าวจะสุกได้ที่
5. ข้าวหุงสวยก็พร้อมรับประทาน
ข้าวพระเวสสันดร
เป็นพันธ์ุพิเศษ การผสมกันระหว่างข้าวหอมมะลิ 105 กับ “ข้าวเหนียว” ที่ทางแบรนด์ใต้ร่มธรรม ตั้งใจคิดค้นออกมาเพื่อให้ได้ข้าวที่มีรสสัมผัสแบบไม่มีใครเหมือน คุณสมบัติที่ได้จึงเป็นข้าวที่มีกลิ่นหอมเป็นพิเศษ รสสัมผัสหลังจากข้าวหุงเสร็จร้อนๆที่ทั้งนุ่มและเคี้ยวได้ที่กำลังพอดี ที่สำคัญคือเป็นข้าวที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นอย่างเช่น ธาตุเหล็ก ทองแดง สังกะสี ช่วยดูแลเรื่องระบบประสาทเป็นอย่างดี ถือว่าเป็นข้าวแบบใหม่ ที่ควรมาลองทานกันดู ถ้ากินพร้อมกับข้าวหรือแกงอร่อยมากๆ
ขั้นตอนการหุง
1. นำเมล็ดข้าวสารมาแช่ในน้ำเป็นเวลา 15 นาที
2. จากนั้นทำการซาวน้ำเป็นจำนวน 3-4 ครั้ง
3. หุงข้าวด้วยปริมาณ น้ำ 1.5 ถ้วย ต่อ ข้าว 1 ถ้วย
4. ใช้ความร้อนหุงข้าวจนกว่าข้าวจะสุกได้ที่
5. ข้าวหุงสวยก็พร้อมรับประทาน

นักวิจัยข้าวไทยเก่ง คิดค้นนวัตกรรม พัฒนา ข้าว สามสายพันธุ์
โดยจากการวิจัยข้าวครั้งนี้ ทีมนักวิจัยประสบความสำเร็จ ได้ด้วยความร่วมมือ การสนับสนุนเงินทุนการวิจัย และพัฒนาจาก สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, ศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยในการวิจัยข้าวครั้งนี้ ผู้พัฒนาได้คิดค้นวิธีการพัฒนาข้าว ด้วยเครื่องมือ “เทคโนโลยีกระตุ้นการกลายพันธุ์ด้วย *ลำไอออนพลังงานต่ำ*” ซึ่งเทคโนโลยีในการปรับปรุงข้าวครั้งนี้ ทำเพื่อให้ได้ข้าวสายพันธุ์ใหม่ ที่มีคุณภาพดี และยังคงได้ผลผลิตที่สูง โดยสามารถทำได้จำนวน สามสายพันธุ์ ซึ่งแต่ละสายพันธุ์ต่างก็มีจุดเด่นที่แตกต่างกันไป เพื่อตอบโจทย์อาชีพเกษตรกรไทยที่ไม่ใช่แค่การปลูกข้าวเพื่อนำมาใช้บริโภคโดยตรงเท่านั้น แต่ยังสามารถนำข้าวต่างพันธุ์ไปใช้เพื่อการอื่นได้อีก โดยข้าวที่ทำการวิจัยและพัฒนาขึ้นมาทั้งสามสายพันธุ์นั้น มีดังนี้
- ข้าวหอมเพื่อการบริโภค (สายพันธุ์ มช 10-1 หรือ FRK-1)
โดยข้าวหอมพันธุ์นี้ที่พัฒนาขึ้นเป็นข้าวหอมพื้นอ่อน ที่มีความไวต่อช่วงแสง, มีอายุการเก็บเกี่ยวอยู่ที่ประมาณ 124 วัน (ด้วยวิธีปักตำ) และค่อนข้างสามารถต้านทานโรคใบไหม้และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้ ซึ่งเป็นข้อดี ที่สามารถกลบจุดด้อยในสายพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่ไม่สามารถต้านทานโรคใบไหม้ และเพลี้ยสีน้ำตาลได้ ข้าวหอมพันธุ์นี้ยังมีจุดเด่นอีกอย่างหนึ่งที่น่าสนใจกว่าข้าวหอม เพื่อการบริโภคบางสายพันธุ์คือ มีระดับสารหอม 2AP สูงถึง 6.55 ppm ซึ่งสูงกว่าสายพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 จากตัวอย่างกลุ่มผู้บริโภคยอมรับว่ามีความใกล้เคียงกับข้าวขาวดอกมะลิ สายพันธุ์ 105 ในแง่ของสีสัน รสชาติ และเนื้อสัมผัส แต่ใน มช 10-1 จะมีความนุ่มและคงสภาพความนุ่มไม่แข็งกระด้างได้นานกว่า แม้จะเก็บไว้จนเย็นแล้วก็ตาม ที่สำคัญสายพันธุ์ที่พัฒนาขึ้นมานี้สามารถให้ผลผลิตเกี่ยวสดเฉลี่ยอยู่ที่ 2.13 ตัน/ไร่ มากกว่าข้าวขาวดอกมะลิพันธุ์ดั้งเดิมที่ผลผลิตเกี่ยวสดได้แค่ 0.5 ตัน / ไร่ ซึ่งจากปริมาณที่สายพันธุ์ มช 10-1 ทำได้จะสามารถทำให้เกษตรกรที่ปลูกข้าวมีกำไรอย่างแน่นอน เมื่อหักต้นทุนประมาณ 5,000 บาท / ไร่ออกแล้ว - ข้าวเพื่ออุตสาหกรรมแป้ง (สายพันธุ์ เทพ 10-5 หรือ MSY-4)
ข้าวพันธุ์นี้เป็นข้าวหอมอ่อนพื้นแข็ง ที่ไม่ไวต่อช่วงแสง, มีอายุการเก็บเกี่ยวอยู่ที่ประมาณ 122 วัน โดยข้าวสายพันธุ์นี้ค่อนข้างต้านทานโรคใบไหม้ และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้ นอกจากนี้ ข้าวสายพันธุ์เทพ 10-5 มีสารหอม 2AP ที่ระดับ 0.79 ppm ซึ่งหากลองเปรียบเทียบกับข้าวสายพันธุ์ปทุมธานี 1 ในเรื่องคุณสมบัติต่าง ๆ อาจจะไม่ค่อยแตกต่างกันมากนักทั้งเรื่องระยะเวลาเก็บเกี่ยว, ความไวต่อแสง, อายุการเก็บเกี่ยวผลผลิต และเรื่องการต้านทานโรคต่าง ๆ แต่สิ่งที่ทำให้สายพันธุ์เทพ 10-5 ที่ทำการพัฒนาขึ้นมา มีความโดดเด่นกว่าวายพันธุ์ปทุมธานี 1 คือเรื่องของปริมาณผลผลิตที่มากกว่าอย่างเห็นได้ชัด โดยสามารถผลิตผลเกี่ยวสดได้ถึง 1.54 ตัน / ไร่ เมื่อเทียบกับข้าวปทุมธานี 1 ที่ทำได้แค่เพียง 0.99 ตัน / ไร่ ซึ่งอย่างที่บอกไปว่าข้าวพันธุ์นี้เป็นข้าวเพื่ออุตสาหกรรมแป้ง จึงไม่ใช่การเน้นผลผลิตที่นำไปใช้บริโภคโดยตรง แต่จะต้องนำไปแปรรูปก่อนเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยข้าวเจ้าหอมอ่อนพื้นแข็งพันธุ์เทพ 10-5 นี้เหมาะกับการแปรรูปเป็น เส้นขนมจีน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งในการต่อยอดผลิตภัณฑ์ข้าวให้เป็นได้มากกว่าข้าว - ข้าวเพื่ออุตสาหกรรมอาหารสัตว์ (สายพันธุ์เทพ 10-7 หรือ OSSY-23)
ข้าวพันธุ์นี้เป็นข้าวเจ้าพื้นแข็ง มีคุณสมบัติไม่ไวต่อแสง, มีอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 122 วัน และค่อนข้างต้านทานโรคใบไหม้และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้ โดยจุดเด่นและสิ่งที่ข้าวเพื่ออุตสาหกรรมอาหารสัตว์ต้องมี คือปริมาณโปรตีน ปริมาณไขมันที่พอเหมาะกับการเลี้ยงสัตว์ ซึ่งข้าวสายพันธุ์เทพ 10-7 ที่พัฒนาขึ้นมานี้มีปริมาณโปรตีนอยู่ที่ 10.3% และไขมัน 3.6% โดยข้าวสายพันธุ์นี้เหมาะที่จะนำไปเลี้ยงหมู โดยผลิตผลที่สามารถเก็บเกี่ยวสดได้นั้นอยู่ที่ประมาณ 1.54 ตัน / ไร่ ซึ่งค่อนข้างเพียงพอต่อความต้องการอาหารของหมู ที่ต้องการกินอาหารอยู่ที่ 2.2 กิโลกรัม / วัน / ตัว ซึ่งจากปริมาณนี้และระยะเวลาเก็บเกี่ยวก็สามารถทำให้ปริมาณข้าวและความต้องการของฟาร์มหมูหมุนเวียนได้อย่างเพียงพอ
โดยผลงานวิจัยข้าวในประเทศไทย เช่นข้าวสามสายพันธุ์นี้ ได้นำข้อบกพร่องในแต่ละสายพันธุ์มาพัฒนา และกลบจุดอ่อนทิ้ง ทั้งเรื่องของความคุ้มค่าในการลงทุน, ปริมาณผลผลิตที่น้อย, ความไม่ต้านทานโรคและแมลง ซึ่งความสำเร็จครั้งนี้เกิดขึ้นได้จากความร่วมมือกันขององค์กรต่าง ๆ ที่พร้อมจะสนับสนุนการวิจัยข้าวในไทย เพื่อให้เกษตรกรไทยสามารถลงทุน และทำการเกษตรไปต่อได้ด้วยความมั่นคง ในวงการการเกษตรที่ผลักดันให้ประเทศไทยก้าวไปข้างหน้าได้ในยุค 4.0 นี้