
ข้าวเหนียวพันธุ์เขี้ยวงู เป็นข้าวพันธุ์พื้นเมืองดั้งเดิมมีลักษณะเมล็ดเล็ก เรียวยาว สวยงาม เมื่อนึ่งสุกแล้วข้าวมีสีขาว การเกาะตัวเหนียวแต่ไม่เละ ผิวมีความเลื่อมมันค่อนข้างมาก เนื้อสัมผัสนุ่มและมีกลิ่นหอม
เมื่อนึ่งสุกแล้วข้าวจะมีสีขาว เนื้อสัมผัสนุ่ม มีกลิ่นหอม เมล็ดข้าวขึ้นเงาสวยน่าทาน มีความเป็นมันวาว ข้าวเกาะตัวกันเหนียว ไม่เละ ไม่ดำ จึงทำให้ขนมที่ทำจากข้าวนั้นสวยน่าทานตลอดวัน นั่นคือเหตุผลที่ร้านขนมมืออาชีพ เจาะจงเลือกข้าวเหนียวเขียวงูนี้มาเป็นวัตถุดิบในการทำขนม ไม่ว่าจะเป็นข้าวเหนียวมะม่วง ข้าวเหนียวทุเรียนน้ำกะทิ หรือบ๊ะจ่าง ที่นอกจากรสมือของเจ้าตำรับแต่ละร้านแล้ว เคล็ดลับความน่ากินอีกอย่างหนึ่งก็คือตัวข้าวเหนียวนี่เอง
ข้าวเหนียวเขี้ยวงู เป็นข้าวเหนียวพันธุ์พื้นเมือง ที่ขึ้นชื่อมาตั้งแต่ในอดีต แต่เกือบจะหายไปจากข้าวไทย เนื่องจากเป็นข้าวที่ให้ผลผลิตน้อย ศูนย์วิจัยข้าว จังหวัดเชียงราย มาช่วยเก็บรักษา และพัฒนาพันธุ์ข้าวให้ได้พันธุ์ ที่บริสุทธ์ไว้ให้ชาวนาได้ปลูกจนถึงปัจจุบัน ที่ได้ชื่อว่า “ข้าวเหนียวเขี้ยวงู” นั้น เพราะว่าเมื่อสีข้าวออกมาแล้ว ข้าวสารที่ได้จะมีเมล็ดเล็ก แหลม เรียวยาว คล้าย เขี้ยวงู นั่นเอง
นอกจากความอร่อยแล้ว ข้อมูลจากกรมการข้าวระบุว่า ข้าวเหนียวเขี้ยวงูยังมีสารต้านอนุมูลอิสระในรูปของวิตามินอีสูง มีความสามารถในการช่วยกระบวนการย่อยอาหารในร่างกายช่วยลดคลอเลสเตอรอล และยังมีสารแกมมา (g-oryaznal) สารแกมมานี้ช่วยลดการเกิดออกซิเดชั่น คือลดสารประกอบที่เป็นอันตรายต่อเซลล์ต่างๆในหลอดเลือด (สารที่เกิดจากการออกซิเดชั่นนี้ เป็นสาเหตุของโรคเส้นเลือดอุดตันในหัวใจ โรคที่เกี่ยวกับปอดและมะเร็ง รวมถึงอาการผิดปกติของวัยทอง)
ให้ผลผลิต 71 – 484 กิโลกรัมต่อไร่ แหล่งผลิต จังหวัดเชียงราย และพื้นที่ใกล้เคียงในภาคเหนือ
ขอบคุณข้อมูลจาก กองพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าว, jd4578.com