ร้านพอพาณิช

จำหน่ายข้าวสาร หอมกระเทียม ปลีก - ส่ง
บริการส่งถึงหน้าบ้านท่าน ในพื้นที่ อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์

ติดต่อเรา

ข้าวหอมมะลิ

ข้าวหอมมะลิ

เป็นสายพันธุ์ข้าวที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย มีลักษณะกลิ่นหอมคล้ายใบเตย เป็นพันธุ์ข้าวที่ทำให้ข้าวไทยเป็นสินค้าส่งออกที่รู้จักไปทั่วโลก

ข้าวเหนียวเขี้ยวงู

ข้าวเหนียวเขี้ยวงู

ชาวนาไทยในแทบล้านนา ซึ่งกินข้าวเหนียวเป็นหลัก ผู้มีนาส่วนมาก ปลูกข้าวเหนียวคุณภาพดี คือ เมล็ดเล็ก เรียวยาว นุ่ม มีกลิ่นหอม

ข้าวขาว

ข้าวขาว

ข้าวขาวที่ปลูกกันอยู่โดยทั่วไปมีหลายพันธุ์ เช่น ข้าวเสาไห้สระบุรี ข้าวเหนียวกอเดียว ข้าวเหลืองอ่อน ข้าวเหลืองประทิว ฯลฯ

ข้าวหอมมะลิไทยแท้

ข้าวหอมมะลิไทย

แหล่งปลูกข้าวหอมมะลิที่สำคัญของไทย

ประเทศไทยถือเป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิที่มีคุณภาพดีที่สุดแห่งหนึ่ง โดยมีแหล่งเพาะปลูกสำคัญในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (เขตทุ่งกุลาร้องไห้) และมีพื้นที่เพาะปลูกครอบคลุมกว่า 19 ล้านไร่ ทั่วประเทศรองลงมาคือภาคเหนือ เนื่องจากสภาพดินฟ้า-อากาศและพื้นที่เพาะปลูกของทั้งสองภาคคล้ายคลึงกันเหมาะแก่การเจริญเติบโตของข้าวหอมมะลิ กล่าวคือสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ดอน ฝนจะเริ่มตกตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ชาวนาจะเริ่มหว่านไถในเดือนมิถุนายน และเพาะปลูกอยู่ในช่วงเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม เมื่อฝนเริ่มหมดปลายเดือนตุลาคมจนถึงต้นเดือนพฤศจิกายน จึงเริ่มเก็บเกี่ยวช่วงเดือนพฤศจิกายนความชื้นจะน้อยเพราะเป็นช่วงที่ลมหนาวจากเมืองจีนเริ่มพัดเข้ามาในสองภาคนี้ทำให้อากาศแห้งเหมาะในการเก็บเกี่ยว การตาก การนวด ก็ทำได้ง่ายเพราะน้ำแห้งนาหมดแล้ว ไม่มีฝน จึงทำให้ได้เมล็ดข้าวมีคุณภาพสำหรับการปลูกข้าวหอมจะทำกันได้ดีเฉพาะที่ที่เป็นนาดอนเสียเป็นส่วนใหญ่

ข้าวหอมมะลิ (Thai Hom Mali Rice)

เป็นสายพันธุ์ข้าวที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย จัดเป็นข้าวนาปี ปลูกได้เพียงปีละ 1 ครั้ง ลักษณะข้าวเปลือเรียวยาว เมื่อสีเป็นข้าวสารจะได้ข้าวเมล็ดเรียว ยาว ขาวใสเป็นเงา แกร่ง มีท้องไข่น้อย มีกลิ่นหอมคล้ายใบเตย เป็นพันธุ์ข้าวที่นิยมบริโภคอย่างแพร่หลายทั้งในประเทศและต่างประเทศและเป็นพันธุ์ข้าวที่สร้างชื่อเสียงให้ข้าวไทยเป็นที่รู้จักทั่วโลก

ข้าวหอมมะลิ เป็นข้าวที่มีคุณภาพดีที่สุด และราคาแพงที่สุดของประเทศไทย เป็นที่นิยมบริโภคทั้งในประเทศ และต่างประเทศสำหรับตลาดต่างประเทศ ผู้บริโภคที่มีฐานะดี มีกำลังซื้อสูงปัจจุบันการขยายปริมาณการส่งออกมีลู่ทางแจ่มใสกว่าข้าวพันธุ์อื่น ๆปริมาณการส่งออกเพิ่มจาก 148,544 ตัน ในปี 2532 ในปี 2536 ประเทศที่เป็นลูกค้าข้าวหอมมะลิ ได้แก่ ฮ่องกง สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา คุณสมบัติที่ส่งให้ข้าวหอมมะลิเป็นข้าวคุณภาพสูง คือข้าวเปลือกเรียวยาว ได้ขนาดมาตรฐานข้าวชั้นหนึ่งเมื่อสีเป็นข้าวสารจะได้ข้าวเรียว ยาว ขาวใส เป็นเงาแกร่งและมีท้องไข่น้อยมีกลิ่นหอมเมื่อหุงเป็นข้าวสุกจะมีรสชาติดี ข้าวหอมมะลิจัดเป็นข้าวที่มีอะมิโลสต่ำคือประมาณ 12-18% ทำให้ข้าวสุกมีความอ่อนนุ่มนิ่มชื่อที่ผู้บริโภคและผู้ประกอบการค้าข้าวนิยมเรียกโดยเพี้ยนมากจาก “ขาวดอกมะลิ” และมีชื่อเป็นทางการว่า “ขาวดอกมะลิ 105” ซึ่งมีความหมายว่า ประเภทข้าวขาวเพราะข้าวเปลือกมีสีขาวหรือสีฟางและมีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นดอกมะลิสำหรับหมายเลข 105 นั้น ได้มาจากขึ้นตอนการปรับปรุงพันธุ์

ประโยชน์ของข้าวหอมมะลิ

ข้าวนั้นนอกจะให้คาร์โบไฮเดรตแล้ว ยังอุดมไปด้วย ไฟเบอร์, วิตามิน B1 และ B6, แมกนีเซียม, ฟอสฟอรัส, ซีลีเนียม และแมงกานีส วิตามินและแร่ธาตุเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นสารอาหารที่จำเป็นและมีประโยชน์ต่อร่างกาย

1.ข้าวหอมมะลิเป็นแหล่งรวมแคลอรี่และคาร์โบไฮเดรต

คาร์โบไฮเดรตเป็นแหล่งพลังงานที่ร่างกายของเราจำเป็นต้องใช้ในการเผาผลาญทำกิจกรรมต่าง ๆ ในแต่ละวัน ดังนั้นจากข้อมูลที่กล่าวไปแล้วข้างต้นจ ะเห็นว่าข้าวนั้นมีคุณค่าทางโภชนาการสูง เหมาะสำหรับบริโภคในอาหารมื้อหลัก เพราะให้แคลอรี่ถึง 356 Kcal ในปริมาณ 100 กรัม

2.อุดมด้วยธาตุเหล็ก

เหล็กเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นทั้งผู้หญิงและผู้ชาย โดยเฉพาะผู้หญิงที่เริ่มมีอายุก็จะมีแนวโน้มเกิดภาวะร่างกายขาดธาตุเหล็กสูงกว่าผู้ชาย จนอาจจะทำให้เกิดโรคโลหิตจางนั่นเองค่ะ นอกจากนี้สำหรับคนที่ขาดธาตุเหล็กก็จะมีอาการ เหนื่อยล้า หายใจถี่ และระบบภูมิคุ้มกันที่ทำงานได้ต่ำลง ดังนั้นคุณไม่จำเป็นต้องไปหาอาหารเสริมจากที่ไหนทาน เพื่อที่จะรับธาตุเหล็กในปริมาณที่เหมาะสมต่อร่างกาย เพียงแค่คุณบริโภคข้าวและทานพวกอาหารทะเล,​ ตับ, ผักบางชนิดเช่น แครอทหรือฟักทองก็ถือว่าเพียงพอต่อความการแล้ว

3.มีสารต้านอนุมูลอิสระ

ภายในข้าวหอมมะลินั้นมีสารต้านอนุมูลอิสระมากมาย ที่จะช่วยป้องกันสารอนุมูลอิสระที่เกิดจาดภาวะเครียดแบบออกซิเดชัน

4.ลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง

ธัญพืชต่าง ๆ เช่น ข้าวกล้องหรือข้าวหอมมะลิ สามารถช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งได้ เนื่องจากเป็นข้าวธัญพืชที่มีไฟเบอร์หรือเส้นใยสูง ซึ่งมีการศึกษาที่เกี่ยวข้องระบุว่ามันสามารถช่วยต่อสู้กับมะเร็งบางชนิดได้ อาทิเช่น บริโภคใยอาหารจากคาร์โบไฮเดรตจะช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็งเต้านม, มะเร็งรังไข่ และมะเร็งลำไส้ใหญ่ ได้

วิธีการตรวจความเป็นข้าวหอมมะลิ

การตรวจสอบที่สามารถยืนยันว่าเป็นข้าวหอมมะลิแท้หรือไม่นั้น ปัจจุบันมีเพียงวิธีเดียวคือ การตรวจสายพันธุกรรม (DNA) ซึ่งมีสถาบันที่สามารถตรวจสอบได้อยู่น้อย มีค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบค่อนข้างสูง และต้องใช้เวลาในการตรวจสอบพอสมควร นอกจากนี้ยังมีวิธีการตรวจสอบเบื้องต้นเพื่อเป็นแนวทางในกาบ่งชี้หาความเป็นข้าวหอมมะลิ คือ วิธีการตรวจทางกายภาพ สถาบันตรวจสอบเอกลักษณ์พันธุกรรม ข้าวหอมมะลิ (DNA)

1. สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
2. ศูนย์ปฏิบัติการดีเอ็นเอเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

วิธีการตรวจลักษณะเมล็ดข้าวเปลือกหอมทางกายภาพ พิจารณาจาก ลักษณะสีของเปลือก ขนาดรูปทรงของเมล็ดข้าวเปลือก ลักษณะพิเศษที่มีเอกลักษณ์เฉพาะที่บ่งชี้ว่าเป็นข้าวหอมอะไร (ซึ่งต้องอาศัยความชำนาญ) เช่น – ข้าวหอมมะลิ 105 มีจุกหางแยกออกชัดเจน- ข้าวหอมมะลิ กข.15 ที่จุกหางมีลักษณะงอนขึ้นมากกว่า และเมล็ดจะกว้างกว่า- ข้าวปทุมธานี 105 จะมีลักษณะคล้ายกับ หอมมะลิ 105 ต่างกันที่จุกหางจะแยกน้อยกว่า- การตรวจทางกายภาพ (มีมาตรฐานกำหนด) พิจารณาจากลักษณะรูปทรงของเมล็ดข้าวขนาดความยาวของเมล็ดข้าวและความยาวเฉลี่ยต่อความกว้างของเมล็ด ลักษณะพิเศษที่บ่งชี้ว่าเป็นข้าวหอมอะไรและวิธีตรวจสอบเมล็ดข้าวสุกที่ต้มในน้ำเดือด- การตรวจทางเคมี คือ การทดสอบหาปริมาณอมิโรส การทดสอบหาปริมาณข้าวเจ้าอื่นที่ไม่ใช่ข้าวหอมมะลิไทยปนโดยการหาค่าการสลายเมล็ดข้าวในด่างหรือการย้อมสี และการทดสอบความสดของข้าว

ขอบคุณข้อมูลจาก tos-lamoon.com, facebook porntipthailand และ bestreview.asia