ร้านพอพาณิช

จำหน่ายข้าวสาร หอมกระเทียม ปลีก - ส่ง
บริการส่งถึงหน้าบ้านท่าน ในพื้นที่ อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์

ติดต่อเรา

ข้าวหอมมะลิ

ข้าวหอมมะลิ

เป็นสายพันธุ์ข้าวที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย มีลักษณะกลิ่นหอมคล้ายใบเตย เป็นพันธุ์ข้าวที่ทำให้ข้าวไทยเป็นสินค้าส่งออกที่รู้จักไปทั่วโลก

ข้าวเหนียวเขี้ยวงู

ข้าวเหนียวเขี้ยวงู

ชาวนาไทยในแทบล้านนา ซึ่งกินข้าวเหนียวเป็นหลัก ผู้มีนาส่วนมาก ปลูกข้าวเหนียวคุณภาพดี คือ เมล็ดเล็ก เรียวยาว นุ่ม มีกลิ่นหอม

ข้าวขาว

ข้าวขาว

ข้าวขาวที่ปลูกกันอยู่โดยทั่วไปมีหลายพันธุ์ เช่น ข้าวเสาไห้สระบุรี ข้าวเหนียวกอเดียว ข้าวเหลืองอ่อน ข้าวเหลืองประทิว ฯลฯ

ข้าวขาว

ข้าวขาว

ข้าวขาวที่ปลูกกันอยู่โดยทั่วไปมีหลายพันธุ์ เช่น ข้าวเสาไห้สระบุรี  ข้าวเหนียวกอเดียว  ข้าวเหลืองอ่อน ข้าวเหลืองประทิว ฯลฯ  โดยส่วนใหญ่แล้วคนทั่วไปมักเข้าใจผิดว่าข้าวขาวคือข้าวเสาไห้จริงๆแล้วข้าวเสาไห้ก็คือข้าวชนิดหนึ่งของข้าวขาว

ข้าวเสาไห้

ข้าวเสาไห้นั้นจะมีลักษณะที่โดดเด่น คือ เมล็ดสวย เรียวยาว ถ้าเป็นข้าวเกี่ยวจะเป็นข้าวเคี่ยว คือ หุงขึ้นหม้อ ถ้าเป็นข้าวใหม่เมื่อหุงแล้วจะนุ่มหอมมีลักษณะคล้ายกับข้าวหอมมะลิทั่วไป

นิยมปลูกที่ บ้านเสาไห้ ตำบลเสาไห้ อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี

ข้าวเสาไห้เป็นข้าวที่มีคุณภาพและเป็นสัญลักษณ์ของชาวบ้านเสาไห้ จึงสร้างชื่อเสียงให้กับชาวสระบุรีได้มาก และสามารถสร้างอาชีพให้กับเกษตรกร ชาวสระบุรี ซึ่งเป็นรายได้หลักสำหรับเลี้ยงครอบครัว

รายได้หลักของชาวเสาไห้ คือ ข้าว และยังเป็นข้าวพันธุ์ดี และมีชื่อเสียง จึงเป็นที่ต้องการของคนทั่วไป โดยเฉพาะบุคคลที่บริโภคข้าวเป็นหลักอย่างคนไทยจึงสามารถทำรายได้ให้กับชาวบ้าน และประเทศไทย

ข้าวเหนียวกอเดียว

เป็นข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่มีลักษณะลักษณะพิเศษดีเด่น คือ ทรงกอตั้งตรง แตกกอดี อายุเบา ออกดอกระหว่างวันที่ 25-30 กันยายน เก็บเกี่ยววันที่ 25 ตุลาคม เร็วกว่า พันธุ์กข6 ประมาณ 2 สัปดาห์ ให้ผลผลิตต่อไร่สูงในสภาพนาดอน ประมาณ 450-500 กิโลกรัมต่อไร่ เหมาะสำหรับพื้นที่นาดอนภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ฝนหมดเร็ว รูปร่างเมล็ดเรียวยาว ข้าวสารสวย ขาวนวล คุณภาพข้าวสุกเหนียวนุ่ม และมีกลิ่นหอมเหมือนพันธุ์กข6 แต่นำไปขัดสีได้ข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าวมากกว่า จำหน่ายได้ในราคาระดับเดียวกันหรือสูงกว่าข้าวพันธุ์กข6 เป็นที่ต้องการของตลาดท้องถิ่นและมีตลาดรับซื้อที่แน่นอน แต่มีข้อควรระวังคือ ไม่มีความต้านทานต่อโรคไหม้ อย่างไรก็ตาม เมื่อเกษตรกรเก็บเมล็ดพันธุ์เองและปลูกต่อเนื่องกันยาวนาน ความบริสุทธิ์ในสายพันธุ์จึงน้อยลง มีความแตกต่างกันในลักษณะของสายพันธุ์มากขึ้น ทั้งที่อยู่ในพื้นที่เดียวกัน เพื่อคงฐานพันธุกรรมข้าวให้แตกต่างจาก กข6 และอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นเมืองให้คงความหลากหลายในพื้นที่ไว้ ให้เป็นทางเลือกของเกษตรกรนำไปใช้ประโยชน์ ศูนย์วิจัยข้าวสกลนครจึงได้รวบรวม คัดเลือกพันธุ์บริสุทธิ์ข้าวเหนียวกอเดียว ตั้งแต่ปี 2549 -2552 โดยคัดเลือกสายพันธุ์ที่มีลักษณะทางการเกษตรและคุณสมบัติเมล็ดดี ตรงตามความต้องการของเกษตรกร ประเมินการเจริญเติบโตและผลผลิต ได้สายพันธุ์ SKNC06002-2 และ SKNC06001-3 ให้ผลผลิตเฉลี่ย 602 และ 574 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ สูงกว่าพันธุ์เปรียบเทียบมาตรฐานหางยี 71 ที่ให้ผลผลิต 501 กิโลกรัมต่อไร่ 20 และ 14 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ในฤดูนาปี 2553 จะปลูกเปรียบเทียบผลผลิต เพื่อคัดเลือกให้ได้สายพันธุ์ดีเด่นต่อไป

ข้าวเหลืองอ่อน

เป็นข้าวพันธุ์พื้นเมืองของจังหวัดพิจิตร ปลูกในฤดูนาปี  มีอะมีโลสอยู่ระดับปานกลางประมาณ 20 – 22  เมล็ดข้าวมีขนาดปานกลาง  ข้าวสุกจะมีลักษณะค่อนข้างนุ่ม เมื่อหุงข้าวสุกทิ้งไว้นานๆ ข้าวก็ยังคงไม่แข็งตัว  เหมาะสำหรับผู้บริโภคที่นิยมข้าวที่ไม่แข็ง หุงตอนเช้า สามารถเก็บไว้ทานตอนเย็นได้

ข้าวเหลืองประทิว

เป็นข้าวพันธุ์พื้นเมืองของภาคใต้ ยังมีอีกชนิดหนึ่งที่ฟังชื่อแล้วก็เรียกความสนใจได้ดีทีเดียว อย่าง “ข้าวเหลืองปะทิว” ซึ่งถือเป็นข้าวพันธุ์พื้นเมืองของอำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร มีอายุมานานกว่าสองร้อยปีแล้ว

ตามประวัติที่รวบรวมไว้กล่าวว่า มีการปลูกข้าวเหลืองปะทิวขึ้นครั้งแรก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2340 ณ บ้านเกาะหรือเกาะชะอม เขตพื้นที่หัวเมืองยิ่ง ซึ่งต่อมา เจ้าเมืองปะทิวได้แพร่ขยายพันธ์ข้าวนี้ไปสู่ชุมชนบ้านดอนตะเคียน บ้านหัวนอน และบ้านดอนแตง ต่อมาในปี พ.ศ. 2400 ได้ขยายการทำนาปลูกข้าวนี้ไปสู่ตำบลดอนยาง ตำบลปากคลอง ตำบลสะพลี บริเวณบ้านคลองช้างตาย (บ้านปากด่าน) และขยายพื้นที่ปลูกไปเรื่อยๆ จนมีคนต่างถิ่นนำเอาเมล็ดข้าวเหลือปะทิวนี้ไปปลูกในจังหวัดอื่นๆ ด้วย อาทิ  เพชรบุรี ราชบุรี ฯลฯ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2498 กรมการข้าวในสมัยนั้น ได้นำเมล็ดพันธุ์ข้าวเหลืองปะทิวไปปลูกแบบคัดเลือกสายพันธุ์ (แบบคัดเมล็ดพันธุ์บริสุทธิ์) จนได้รับการพิจารณาให้เป็นพันธุ์รับรอง ชื่อข้าวพันธุ์เหลืองปะทิว 123 ในปี พ.ศ. 2508 ต่อมาปีพ.ศ. 2551 ข้าวเหลืองปะทิวชุมพร (KhaoLeuang Patew Chumphon)ได้รับขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI)โดยใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวเหลืองปะทิว 123

คุณลักษณะพิเศษที่โดดเด่นของข้าวเหลืองปะทิว คือ เป็นข้าวเจ้าที่ไวต่อช่วงแสง ปลูกได้ปีละ 1 ครั้ง ลำต้นและใบสีเขียว สูงประมาณ 150 เซนติเมตร ใบกว้างและยาว คอรวงยาว ข้าวเปลือกสีเหลือง เมล็ดยาวเรียว และจะออกดอกระหว่างวันที่ 25-30 พ.ย.ของทุกปีและธันวาคมเป็นช่วงเก็บเกี่ยว
ส่วนคุณสมบัติด้านโภชนาการ พบว่า ข้าวเหลืองปะทิวมีปริมาณของสารแอมิโลสสูง 29-32% เมื่อหุงสุกจะมีลักษณะร่วน ข้าวไม่จับตัวเป็นก้อน ค่อนข้างแข็ง หุงขึ้นหม้อ ที่สำคัญยังสามารถนำมาแปรรูปที่หลายคนนิยมเอามาทำเป็นเส้นขนมจีน เพราะทำให้เส้นเหนียวนุ่ม ทานกำลังดี

ขอบคุณข้อมูลจาก 2845goodrices/prapheth-khxng-khaw/khaw-khaw